เชื่อว่าหลายคนต่อหลายคนต่างพากันสงสัยว่าพลาสติกสามารถนำไปรีไซเคิลได้ทุกชนิดหรือไม่ ซึ่งต้องตอบเลยว่าได้ เพราะในปัจจุบันการรีไซเคิลขยะพลาสติกเพื่อลดปัญหาในการกำจัดขยะนั้นถือเป็นเรื่องใหญ่ในประเทศไทย จนนำมาถึงแผนโรดแม็ปการจัดการขยะพลาสติกของประเทศ พ.ศ.2561-2573 โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมามีรายงานว่า ประเทศไทย มีขยะพลาสติกประมาณ 12% ของปริมาณขยะทั้งหมด หรือประมาณปีละ 2 ล้านตัน ในจำนวนนี้มีพลาสติกที่ถูกนำกลับไปใช้ใหม่ 0.5 ล้านตันเท่านั้น อีก 1.5 ล้านตัน เป็นขยะพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียว เช่น ถุงร้อน หลอดพลาสติก กล่องโฟม กล่องใส่อาหารพลาสติกชนิดต่างๆ ฯลฯ โดยพลาสติกที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้มี 7 ประเภท ดังต่อไปนี้
Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561 – 2573
(Thailand’s Roadmap on Plastic Waste Management 2018 – 2030)
https://www.pcd.go.th/wp-content/uploads/2021/10/pcdnew-2021-10-19_08-59-31_527174.pdf
PET (Polyethylene Terephthalate)
เป็นพลาสติกที่ทนทานต่อแรงกระแทก ไม่เแตกง่าย ทำให้มีความใสเพื่อให้เห็นสิ่งที่บรรจุอยู่ภายใน และยังมีคุณสมบัติป้องกันการแพร่ผ่านของก๊าซได้ดี เม็ดพลาสติก PET มีจุดหลอมเหลวประมาณ 250°C โดยปกติจะสูงกว่า 200°C
พบในขวดน้ำดื่ม ขวดน้ำอัดลม ถาดอาหาร : รีไซเคิลเป็นเส้นใยสังเคราะห์ เสื้อผ้า เสื้อกันหนาว ผ้าห่ม ขวดใหม่
HDPE (High-Density Polyethylene)
เป็นพลาสติกประเภทพอลิเอทิลีนที่มีค่าความหนาแน่นสูง มีลักษณะขุ่น แสงผ่านได้น้อย ทนต่อสารเคมี นิยมนำไปใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการความแข็งแรงทนทาน มีความเหนียว ยืดหยุ่นได้ และทนทานต่อการแตกหักได้ดี อีกทั้งยังป้องกันการซึมผ่านของความชื้นได้ดีมากๆ
พบในขวดนม ถุงพลาสติก กล่องพลาสติก : รีไซเคิลเป็นท่อ HDPE กระป๋อง ถัง ตะกร้าต่างๆ ขวดใส่น้ำยาซักผ้า ขวดน้ำมันเครื่อง
PVC (Polyvinyl Chloride)
เป็นพลาสติกแข็งแรงกว่าพลาสติกชนิดอื่นๆ แต่สามารถทำให้นิ่มได้ โดยใส่สารพลาสติกไซเซอร์ และเป็นพลาสติกที่มีคุณสมบัติหลากหลาย สามารถนำไปใช้ผลิตได้หลายอย่าง อีกทั้งยังทนทานต่อน้ำ เป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดีอีกด้วย
พบในท่อประปา สายไฟ แผ่นพลาสติก : รีไซเคิลเป็นท่อ PVC แผ่นหลังคา รองเท้าพลาสติก กรวยจราจร ท่อประปา
LDPE (Low-Density Polyethylene)
เป็นพลาสติกประเภทพอลิเอทิลีน ที่มีค่าความหนาแน่นต่ำ เป็นพลาสติกนิ่ม บางเบา มีความทนทานในระดับหนึ่ง (น้อยกว่าHDPE ) สามารถยืดขยายได้ มีความใสน้อยกว่า PP แต่ใสกว่า HDPE
พบในถุงพลาสติก ถุงหูหิ้ว ฟิล์มห่ออาหาร : รีไซเคิลเป็นถุงพลาสติก ท่อ ฟิล์มห่อต่างๆ ถุงขยะ ถังขยะ ถุงหูหิ้ว
PP (Polypropylene)
เป็นพลาสติกแข็ง ทนต่อแรงกระแทก สารเคมี และความร้อน ทำให้มีสีสันสวยงาม มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับ PE แต่ทนความร้อนได้สูงถึง 165 องศา ป้องกันการซึมผ่านของไอน้ำได้ดี เป็นฉนวนกันความร้อนที่ดีมาก
พบในฝาขวด กล่องอาหาร หลอดดูด : รีไซเคิลเป็นเชือก ถัง เฟอร์นิเจอร์ ไม้กวาดพลาสติก กล่องแบตเตอรี่รถยนต์
PS (Polystyrene)
เป็นพลาสติกที่แข็ง ใส แต่เปราะ และแตกง่าย ราคาถูก
พบในกล่องโฟม ถ้วยโฟม : รีไซเคิลเป็นกล่องโฟม กรอบรูป ไม้แขวนเสื้อ ถาดใส่ไข่ ไม้บรรทัด
พลาสติกชนิดอื่นๆ
เป็นพลาสติกที่ไม่ได้อยู่ใน 6 ข้อข้างต้น แต่สามารถนำไปรีไซเคิลได้
พบในพลาสติกผสม พลาสติกใส : รีไซเคิลเป็นวัสดุทั่วไป เฟอร์นิเจอร์รูปแบบต่างๆ หมวกเซฟตี้
ข้อมูลอ้างอิง : https://www.matl.co/plastic-7-recycle/
ประเภทของบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
– ขวดน้ำดื่ม
– ขวดน้ำอัดลม
– ถุงผ้า
– กล่องพลาสติก
– ถาดอาหาร
– กระป๋อง
– ถัง
– ตะกร้า
– ภาชนะบรรจุอาหาร
– วิธีการนำบรรจุภัณฑ์พลาสติกกลับมาใช้ใหม่
– ล้างทำความสะอาดบรรจุภัณฑ์ให้สะอาด
– ตากให้แห้ง
– เก็บไว้ใช้งานใหม่
– ตรวจสอบสัญลักษณ์รีไซเคิลบนพลาสติก
– ดูหมายเลข 1-7 อยู่ภายในสัญลักษณ์
ข้อควรระวังในการนำมาใช้งานใหม่
– ไม่ควรนำพลาสติกที่ปนเปื้อนอาหารหรือสารเคมีกลับมาใช้ใหม่
– ไม่ควรนำบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ผ่านความร้อนสูงกลับมาใช้งานใหม่
– ไม่ควรนำบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่มีรอยร้าวหรือรอยแตกกลับมาใช้ใหม่
ข้อดีของการนำบรรจุภัณฑ์พลาสติกกลับมาใช้ใหม่
– ช่วยลดปริมาณขยะพลาสติก ที่กำลังเป็นปัญหาในตอนนี้
– ช่วยลดการใช้พลาสติกใหม่
– ช่วยลดมลพิษสิ่งแวดล้อม
– ช่วยประหยัดเงิน
– ตัวอย่างวิธีการนำบรรจุภัณฑ์พลาสติกกลับมาใช้ใหม่
– ใช้ขวดน้ำดื่มเก่าเป็นแจกันดอกไม้
– ใช้ถุงพลาสติกเก่าไปช้อปปิ้ง ซ้อสินค้าใหม่
– ใช้กล่องพลาสติกเก่าเก็บของ
– ใช้ถาดอาหารเก่าเป็นกระถางต้นไม้
– ใช้กระป๋องเก่าเป็นที่เก็บอุปกรณ์
– ใช้ถังเก่าเป็นที่เก็บน้ำ
– ใช้ตะกร้าเก่าเป็นที่ใส่ของเล่นหรือสิ่งของอื่นๆ
ทุกคนคงได้คำตอบแล้วว่าพลาสติกสามารถรีไซเคิลได้ แต่ต้องแยกประเภทก่อนนำไปรีไซเคิล กระบวนการนำพลาสติกไปรีไซเคิลนั้น จะผ่านการคัดแยกพลาสติกก่อนที่จะถูกส่งไปที่โรงงานรีไซเคิล จากนั้นจะถูกนำไปหลอมแล้วขึ้นรูปใหม่ ซึ่งคุณภาพก็จะด้อยลงไปบ้าง แต่ก็คุ้มค่ากับการนำกลับมาใช้ใหม่
ขอบคุณแหล่งอ้างอิง
https://www.mtec.or.th/bio-plastic/what-is-plastic/recycle-plastic.html
https://www.pttplc.com/th/Media/Publications/Godji/Content-26899.aspx